eventseventseventsevents
: Dialog Semasa: round table and book launch
event

} EVENT {

DatesFebruary 4 — 4, 2018
Location
Artists
จิรวัฒน์ แสงทอง, ทวีศักดิ์ เผือกสม, ซะการีย์ยา อมตยา, อิศรา ศานติศาสน์ and อนุสรณ์ อุณโณ

Dialog Semasa: round table and book launch

จิรวัฒน์ แสงทอง, ทวีศักดิ์ เผือกสม, ซะการีย์ยา อมตยา, อิศรา ศานติศาสน์ and อนุสรณ์ อุณโณ

พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม ขอเรียนเชิญท่านร่วมงาน

บทสนทนาร่วมสมัย: ประวัติศาสตร์สังคมปาตานี และ ร่วมเปิดตัวหนังสือ ไทยใต้ มลายูเหนือ: ปฏิสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์บนคาบสมุทรแห่งความหลากหลาย ฉบับภาษาไทย

กำหนดการกิจกรรม

15.30 -17.00 น.
ร่วมวงสนทนา “ทบทวนภูมิทัศน์ประวัติศาสตร์สังคมปาตานี”
ผู้ร่วมสนทนา: มูฮัมหมัด อาราฟัต (National University of Singapore) อัมพร หมาดเด็น (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์) พุทธพล มงคลวรวรรณ (มหาวิทยาลัยรามคำแหง) ซะการีย์ยา อมตยา (กวี)
ผู้นำถกประเด็น: ทวีศักดิ์ เผือกสม (มหาวิทยาลัยนเรศวร) จิรวัฒน์ แสงทอง (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)

เรื่องราวของปาตานีมักถูกนำเสนออย่างสัมพันธ์กับสถานการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงที่ปรากฏเด่นชัดในช่วงสิบสี่ปีมานี้​ หากไม่กล่าวถึงความรุนแรงเชิงกายภาพก็กล่าวถึงความขัดแย้งทางการเมือง ในขณะที่เรื่องราวของชีวิตทางสังคมอื่นๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์เดียวกัน อันเนื่องมาจากการเป็นดินแดนที่อยู่ระหว่างอาณานิคมมลายาของอังกฤษ และสยาม จวบจนกระทั่งกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทยในเวลาต่อมา—กลับถูกให้น้ำหนักเบาบาง เจือจางกว่า บทสนทนานี้จะนำเสนอประเด็นทางสังคมและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่มักได้รับการเอ่ยถึงน้อยกว่าประเด็นความรุนแรงหรือการเมืองในความหมายตรงตัว อันจะหมายถึง เรื่องราวของชีวิตทางเศรษฐกิจและสังคมประจำวันระหว่างผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ การแต่งงานและสถานะของสตรี ประวัติศาสตร์ เรื่องเล่า และวรรณกรรมพื้นถิ่นที่มาจากปากคำของผู้คนทั่วไปที่ไม่ใช่ชนนั้นนำ ฯลฯ เพื่อ ที่จะช่วยแสดงให้เห็นความสลับซับซ้อนและผลสืบเนื่องอันลึกซึ้งที่เกิดขึ้นและส่งผลต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันของ "ดินแดนที่อยู่ระหว่าง" อิทธิพลและอำนาจหลากหลายประการ

17.00 - 17.15 น.
เปิดตัววารสาร The Melayu Review ฉบับปฐมฤกษ์​
กล่าวเปิดตัวหนังสือโดย ซะการีย์ยา อมตยา (บรรณาธิการวารสาร)

วารสาร The Melayu Review นำเสนอเรื่องเล่าและการเล่าเรื่องเกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัยของชาวมลายูปาตานี รวบรวมงานเขียนจากเสียงของผู้คนที่มีปฏิสัมพันธ์กับภูมิปาตานีในหลากหลายมุมมองและรูปแบบ ทั้งบทความ กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น Non-fiction บทปริทรรศน์เชิงสังคมการเมือง ตลอดจนภาพถ่าย ด้วยวัตถุประสงค์ที่ว่า งานเขียนเหล่านี้จะมีส่วนในการขยายขอบเขตภูมิทัศน์ความรู้ความเข้าใจที่มีต่อ “ความเป็นมลายูปาตานี” ทั้งนี้ วารสาร The Melayu Review ฉบับปฐมฤกษ์ เพิ่งเปิดตัวครั้งแรกไปเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ที่จังหวัดปัตตานี

17.30 - 19.00 น.
เปิดตัวหนังสือ ไทยใต้ มลายูเหนือ : ปฏิสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์บนคาบสมุทรแห่งความหลากหลาย

กล่าวเปิดตัวหนังสือโดย อิศรา ศานติศาสน์ (ผู้อํานวยการฝ่ายนโยบายชาติและความสัมพันธ์ข้ามชาติ (ฝ่าย 1) สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ร่วมพูดคุยกับบรรณาธิการแปลฉบับภาษาไทย : จิรวัฒน์ แสงทอง และ ทวีศักดิ์ เผือกสม
ผู้นำถกประเด็น : อนุสรณ์ อุณโณ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

หนังสือ ไทยใต้ มลายูเหนือ: ปฏิสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์บนคาบสมุทรแห่งความหลากหลาย (บรรณาธิการ​โดย ไมเคิล เจ มอนเตซาโน และ แพทริค โจรี) รวบรวมบทความประกอบด้วย

ภาคที่หนึ่ง จารีตประวัติศาสตร์นิพนธ์อันหลากหลาย ได้แก่ บทความ คาบสมุทรแห่งความหลากหลาย โดย แอนโทนี รีด บทความ มิติมุมมองทางประวัติศาสตร์ของอัตลักษณ์ท้องถิ่นในคาบสมุทรตอนบน โดย ชุลีพร วิรุณหะ และ บทความ ณ ที่ซึ่งแสงเทียนสลัวเลือน: ประวัติศาสตร์นิพนธ์ปัตตานีในสถานการณ์สู้รบ โดย ทวีศักดิ์ เผือกสม

ภาคที่สอง คาบสมุทรในยุคสมัยแห่งรัฐชาติ ได้แก่ บทความ กำเนิดมายาคติว่าด้วยการ “แบ่งแยกดินแดน” ของมลายูมุสลิมในภาคใต้ของไทย โดย ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ บทความ การเลือกตั้งและบูรณาการทาง การเมืองในภาคใต้ของไทย โดย เจมส์ โอกีย์ บทความ อัตลักษณ์แห่งชาติชาวซัม-ซัมในจังหวัดสตูล และ ชาวไทยมลายูมุสลิม โดย กอบเกื้อ สุวรรณทัต–เพียร และ บทความ การเดินทัพทางไกลสู่สันติภาพของพรรคคอมมิวนิสต์มลายาในภาคใต้ของไทย โดย คาร์ล แฮค

ภาคที่สาม ชาวจีนแห่งคาบสมุทรในบทบาทผู้กระทำลูกผสมและตัวกลาง ได้แก่ บทความ ห้าตระกูลใหญ่แห่งปีนังกับสยามภาคใต้ในช่วงศตวรรษที่ 19 โดย หว่อง ยี ตวน บทความ ปฏิสัมพันธ์ของชาวจีน-มลายู-ไทย และการสร้างอัตลักษณ์ชาติพันธุ์จีนเปอรานากันในรัฐกลันตัน โดย เตียว ก๊ก เซียง และบทความ ทุน รัฐ และสังคม ในประวัติศาสตร์ของสมาคมบำรุงการศึกษาตรัง โดย ไมเคิล เจ. มอนเตซาโน

ภาคที่สี่ พหุนิยมทางศาสนาและชาตินิยมชาติพันธุ์สัประยุทธ์ ได้แก่ บทความ การจาริกแสวงบุญกับ การสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์บนคาบสมุทรแห่งความหลากหลาย โดย อเล็กซานเดอร์ ฮอร์สต์มันน์ บทความ ปัตตานีในรูปหล่อหลวงพ่อทวด โดย แพทริค โจรี บทความ เรื่องเล่ากล่าวขาน กับการกระจายความเชื่อทางศาสนาของชาวไทยในกลันตัน โดย เออร์วิง จอห์นสัน และ บทส่งท้าย สายใยแห่งภราดรภาพ: บนสายรากวัฒนธรรมไทยทักษิณกับมลายูตอนบน โดย สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์*กิจกรรมสาธารณะนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ ปาตานีร่วมสมัย: นิทรรศการศิลปะจากภูมิภาคปาตานี นิทรรศการนี้เปิดให้เข้าชมจนถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561